วันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เงื่อนไขการตีพิมพ์


วารสารวิชาการ “มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ปริทัศน์” 
Humanities and Social Sciences Review (HUSOC Review)

กำหนดออกปีละ 2  ฉบับ  เดือนมกราคม-ธันวาคม และกรกฎาคม – ธันวาคม
ได้รับเงินอุดหนุนจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

วัตถุประสงค์
เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดและงานวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ทั้งยังส่งเสริมและสนับสนุนการค้นคว้า และวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางให้แก่นักวิชาการ ผู้รู้ นักศึกษาและบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในสาขาวิชาดังกล่าว โดยวารสารรับตีพิมพ์บทความวิชาการและบทความวิจัยในสาขาวิชาภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีน, ประวัติศาสตร์, ภูมิศาสตร์, ปรัชญา, การพัฒนาชุมชน, ดนตรี, ศิลปะ, ออกแบบประยุกต์ศิลป์, นิติศาสตร์, รัฐประศาสนศาสตร์ และรัฐศาสตร์ และสาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ขอบข่ายและความสนใจ
บทความด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หรือสาขาวิชาที่มีความเกี่ยวข้อง ประเภทของบทความที่จัดตีพิมพ์ได้แก่ บทความวิชาการ บทความวิจัย  บทความวิจารณ์หนังสือ

กระบวนการประเมิน
บทความจะต้องผ่านการพิจารณายอมรับให้ตีพิมพ์ได้โดยกองบรรณาธิการของวารสารร และได้รับการตรวจอ่านโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) จำนวน 2 ท่าน และผู้เขียนบทความต้องปรับปรุงตามข้อเสนอแนะหากมีก่อนตีพิมพ์ บทความที่ไม่ผ่านการพิจารณา กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ทราบผลการพิจารณา แต่จะไม่ส่งต้นฉบับคืนผู้เขียน

ระยะเวลาการตีพิมพ์
ปีละ 2 ฉบับ ตามปีปฏิทิน คือ ฉบับเดือนมกราคม - มิถุนายน และ กรกฎาคม – ธันวาคม

นโยบายการเข้าถึงแบบเปิด
วารสารนี้ให้บริการ การเข้าถึงแบบเปิด บนหลักการ สาธารณะชนสามารถเข้าถึงงานวิจัยได้อย่างเสรี สนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้ โดยอาศัยช่องทางเผยแพร่ทางตัวเล่มและทางเว็บไซต์

กองบรรณาธิการพิจารณารับบทความ 3 ประเภท ดังนี้
1. บทความ แบ่งเป็น
1.1   บทความทางวิชาการ หมายถึง งานเขียนซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจและอยู่ในกรอบเนื้อหาที่กำหนด ต้องมีการอ้างอิงตามหลักวิชาการ
1.2   บทความวิจัย หมายถึง การนำเสนอผลการวิจัยที่ได้มีการศึกษาค้นคว้า ตามหลักทางวิชาการวิจัยแต่ต้องนำมาปรับเพื่อนำเสนอในรูปแบบบทความที่ง่ายต่อการอ่านและทำความเข้าใจ

2. บทวิจารณ์หนังสือ (book review) หมายถึงบทความที่วิพากษ์ วิจารณ์ เนื้อหาสาระ คุณค่า ของหนังสือหรือบทความโดยบทวิจารณ์หนังสือ จะต้องกล่าวถึงรายละเอียดของหนังสือ ได้แก่ ชื่อผู้แต่งปีที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ครั้งที่พิมพ์ จำนวนหน้า ให้ชัดเจนด้วย

3. บทความปริทัศน์ (review article) หมายถึง งานวิชาการที่ประเมินสถานะล่าสุดทางวิชาการ (State of the art) เฉพาะทางที่มีการศึกษาค้นคว้า มีการวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้ทั้งทางกว้างและทางลึกอย่างทันสมัย โดยให้ข้อวิพากษ์ที่ชี้ให้เห็นแนวโน้มที่ควรศึกษาและพัฒนาต่อไป

เงื่อนไขการตีพิมพ์
1. เป็นบทความ ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่ไหนมาก่อน
2. เป็นบทความ ที่มีคุณภาพ ผ่านการพิจารณาตรวจสอบ คัดเลือก จากกองบรรณาธิการ ซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review)
3. เป็นบทความ ที่มีการอ้างอิงและบรรณานุกรม ตามหลักทางวิชาการ ทั้งในระบบเชิงอรรถหรือระบบนามปี

การเตรียมต้นฉบับ
1. บทความ ต้องมีการเขียนเริ่มต้นด้วย บทคัดย่อ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ไม่ควรเกิน 1 หน้ากระดาษใช้ตัวอักษร  Cordia  New ขนาดของตัวอักษรเท่ากับ 14 ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2. บทความ ควรจัดพิมพ์บนกระดาษขนาด A4 หน้าเดียวประมาณ 26 บรรทัดต่อหนึ่งหน้า ด้วยอักษร Cordia  New ขนาดของตัวอักษรเท่ากับ 16 ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และใส่เลขหน้าตั้งแต่ต้นจนจบบทความยกเว้นหน้าแรก โดยมีความยาว ดังนี้
2.1 บทความ  จำนวน 15-20 หน้า โดยนับรวมรูปภาพตาราง เอกสารอ้างอิงและภาคผนวก
2.2 บทวิจารณ์หนังสือ จำนวน 11-15 หน้า โดยนับรวมรูปภาพ ตาราง เอกสารอ้างอิงและภาคผนวก
2.2 บทความปริทัศน์ จำนวน 11-15 หน้า โดยนับรวมรูปภาพ ตาราง เอกสารอ้างอิงและภาคผนวก
3. การจัดแบบฟอร์ม เช่นกั้นหน้า…………..หลัง……………………หัวกระดาษ และท้ายกระดาษ
4. ชื่อผู้เขียน อยู่ถัดลงมาจากชื่อเรื่อง เขียนตำแหน่งและหน่วยงานต้นสังกัดของผู้เขียนในเชิงอรรถ
5. การส่งบทความควรส่งต้นฉบับบทความในรูปแบบเอกสารหรือรูปแบบเป็นไฟล์อิเล็คทรอนิกส์
6.เอกสารอ้างอิง : เอกสารที่ผู้เขียนบทความนำมาอ้างอิงจะต้องมีแหล่งที่มาที่ชัดเจนโดยอาจเป็นหนังสือ ตำรา งานวิจัย วารสาร หรือแหล่งข้อมูลออนไลน์ก็ได้

รูปแบบการอ้างอิง เชิงอรรถ และบรรณานุกรม
การอ้างอิง ให้เลือกใช้ทั้งสองแบบนั่นคือ
(1) แบบนาม-ปี ระบุชื่อ นามสกุลผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ และเลขหน้าของเอกสารอ้างอิงไว้ภายในวงเล็บ ต่อท้ายด้วยข้อความที่นำมาอ้างอิง
(2) แบบเชิงอรรถที่เรียงตัวเลขเป็นเลขอารบิกจากน้อยไปมากไว้ตอนล่างสุดของหน้า ภายในสามารถอธิบายความ ใช้วิธีลงรายละเอียดคำอธิบาย

บรรณานุกรม เริ่มด้วยบรรณานุกรมภาษาไทย แล้วตามด้วยบรรณานุกรมภาษาอังกฤษ และเรียงตามลำดับตัวอักษร

หัวข้อการนำเสนอที่สัมพันธ์กับการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ (peer review)
ตัวอย่างการนำเสนอบทความวิชาการ
1. ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ)
2. บทคัดย่อ (ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ)
3. บทนำ*
4. ระเบียบวิธีวิจัย / วิธีการศึกษา*
5. ผลการศึกษา*
6. สรุป*
7. เอกสารอ้างอิง*

ตัวอย่างการนำเสนอบทความวิจัย
1. ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ)
2. ชื่อผู้วิจัยและคณะ
3. แหล่งเงินทุนสนับสนุนการวิจัย
4. บทคัดย่อ (ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ)
5. คำนำ /บทนำ*
6. ระเบียบวิธีวิจัย / วิธีการศึกษา*
7. แนวคิดที่ใช้ในการวิจัย
8. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง / ขอบเขตการวิจัย
9. กิจกรรมและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
10. การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล
11. ผลการวิจัยและอภิปรายผล*
12. สรุป*
13. เอกสารอ้างอิง*

ตัวอย่างการนำเสนอบทวิจารณ์หนังสือและบทความปริทรรศน์
1. ชื่อเรื่อง
2. อภิปรายเนื้อหา*
3. เอกสารอ้างอิง*

ในหัวข้อที่มี * เป็นหัวข้อที่จะถูกประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (peer review)

**เนื้อหา ทัศนคติและความคิดเห็นในบทความเป็นของผู้เขียนเท่านั้น บรรณาธิการผู้พิมพ์ไม่ต้องรับผิดชอบ

ติดต่อส่งต้นฉบับได้ด้วยการ สมัครสมาชิกและส่งออนไลน์ ได้ตามลิงค์นี้
http://www.human.lpru.ac.th/husocojs/index.php/HUSOCReview/user/register
อ่านรายละเอียดการส่งบทความออนไลน์ได้ที่นี่

(ตั้งแต่หน้า 34 เป็นต้นไป)
http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/ThaiJO/download/คู่มือการใช้งานThaiJO.pdf

นโยบายของวารสาร



วารสารวิชาการ “มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ปริทัศน์” 

Humanities and Social Sciences Review (HUSOC Review)

กำหนดออกปีละ 1  ฉบับ  เดือนมกราคม-ธันวาคม
ได้รับเงินอุดหนุนจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

วัตถุประสงค์
เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดและงานวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ทั้งยังส่งเสริมและสนับสนุนการค้นคว้า และวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางให้แก่นักวิชาการ ผู้รู้ นักศึกษาและบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในสาขาวิชาดังกล่าว โดยวารสารมีขอบเขตเนื้อหาทางวิชาการในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ขอบข่ายและความสนใจ
บทความด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หรือสาขาวิชาที่มีความเกี่ยวข้อง ประเภทของบทความที่จัดตีพิมพ์ได้แก่ บทความวิชาการ บทความวิจัย  บทความวิจารณ์หนังสือ

กระบวนการประเมิน
บทความจะต้องผ่านการพิจารณายอมรับให้ตีพิมพ์ได้โดยกองบรรณาธิการของวารสารร และได้รับการตรวจอ่านโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) และผู้เขียนบทความต้องปรับปรุงตามข้อเสนอแนะหากมีก่อนตีพิมพ์ บทความที่ไม่ผ่านการพิจารณา กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ทราบผลการพิจารณา แต่จะไม่ส่งต้นฉบับคืนผู้เขียน

ระยะเวลาการตีพิมพ์
ปีละ 1 ฉบับ ตามปีปฏิทิน คือ ฉบับเดือนมกราคม – ธันวาคม

นโยบายการเข้าถึงแบบเปิด
วารสารนี้ให้บริการ การเข้าถึงแบบเปิด บนหลักการ สาธารณะชนสามารถเข้าถึงงานวิจัยได้อย่างเสรี สนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้ โดยอาศัยช่องทางเผยแพร่ทางตัวเล่มและทางเว็บไซต์

กองบรรณาธิการ วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์ ม.ราชภัฏลำปาง


“มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ปริทัศน์” 
Humanities and Social Sciences Review (HUSOC Review)

หน่วยงานรับผิดชอบ
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 
119 ม.ต.ชมพู อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง 52100

คณะที่ปรึกษา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธนวิทย์ บุตรอุดม   คณบดี
อาจารย์อำนาจ สงวนกลาง    รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย
อาจารย์พงศธร คำใจหนัก    รองคณบดีฝ่ายวางแผนและการประกันคุณภาพการศึกษา
อาจารย์อัคจร แม๊ะบ้าน    รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษ

ประธานสาขาวิชาภาษาไทย       
ประธานสาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวต่างประเทศ
ประธานสาขาวิชาภาษาอังกฤษ   
ประธานสาขาวิชาภาษาจีน (ศศ.บ.)

ประธานสาขาวิชาภาษาจีน  (ค.บ.)
ประธานสาขาวิชาสังคมศึกษา                
ประธานสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน
ประธานสาขาวิชาดนตรี            
ประธานสาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ
ประธานสาขาวิชานิติศาสตร์      
ประธานสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
ประธานสาขาวิชาการบริหารและการพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท


บรรณาธิการ                          
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์
ผู้ช่วยบรรณาธิการ                          

อาจารย์กิ่งแก้ว ทิศตึง
เจ้าหน้าที่ประสานงาน
ปิยะนันท์ จ๊ะเฮิง


กองบรรณาธิการ (บุคลากรภายใน)
รองศาสตราจารย์บุญฑวรรณ วิงวอน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรสวรรค์ มณีทอง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิริกร อิ่นคำ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิรันดร์ ภักดี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิไลลักษณ์ พรมเสน

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหน่วยงานผลิตวารสาร

ศาสตราจารย์ ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทวีศักดิ์ เผือกสม
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
อ.ดร.ยอดพล เทพสิทธา
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
อ.ดร.ฐานิดา บุญวรรโณ
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
อ.ดร.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อ.ดร.พศุตม์ ลาศุขะ
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อ.ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

พิสูจน์อักษร

อาจารย์ชัยเนตร ชนกคุณ